หน้าเว็บ

ประวัติฉบับเต็ม พร้อมผลงาน


ประวัติ
พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร สุทธิพันธุ์)
 PHRA POMWACHIRAYAN (PRASIT KHEMONGKARO SUTDHIBANDHU)
กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ชื่อและสถานะปัจจุบัน
พระพรหมวชิรญาณ ฉายา เขมงฺกโร นามสกุล สุทธิพันธุ์ อายุ ๗๑ พรรษา ๔๙ วิทยฐานะ ป.ธ.๓, น.ธ.เอก, พธ.ด.(กิตติมศักดิ์)จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร, คบ.ด.(กิตติมศักดิ์) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี(ประเทศไทย), ปบ.ด.(กิตติมศักดิ์)มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร, ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ (Doctor of Philosophy in Social Science),  มหาวิทยาลัย New Port University U.S.A., ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร



สถานะเดิม 
ชื่อ ประสิทธิ์ นามสกุล สุทธิพันธุ์ เกิดวัน ๒ฯ๗ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับ วันที่ ๒๔ ๑๔         
พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ บิดา ขุนก่อเอ้อุกฤษ (ผา) มารดา นางก่อเอ้อุกฤษ (ตา) ณ บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

บรรพชาเป็นสามเณร
วันที่ ๓ เมษายน ๒๔๙๑ ที่วัดยางน้อย  ตำบลก่อเอ้  อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พระครูพินิฐศีลคุณ เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่าง บ้านโนนใหญ่ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
วันที่ ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๐๑ ณ พระอุโบสถวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร  แขวงจักรวรรดิ  เขตสัมพันธวงศ์  กรุงเทพมหานคร
     -พระธรรมธีรราชมหามุนี (ธีร์ ปุณฺณโก ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส (ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นที่ สมเด็จพระธีร
ญาณมุนี) เป็นพระอุปัชฌาย์
     -พระวินัยกิจโกศล (อิน ติสฺสสโร ป.ธ.๖) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราช
ปัญญามุนี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
     -พระมหาบุญมา ทีปธมฺโม ป.ธ.๖ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระพุทธิวงศมุนี เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน-
๒๕๔๙)เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ 
วิทยฐานะสายสามัญ
พ.ศ. ๒๔๙๑ จบชั้นประถมปีที่ ๔ ที่โรงเรียนประชาบาล (พรหมพิทยา) บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน อุบลราชธานี
พ.ศ.๒๕๐๓ จบชั้นบาลีอบรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร วิทยฐานะพระปริยัติธรรมในพระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๔๙๗ สอบนักธรรมชั้นตรีได้ สำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๔๙๗ สอบนักธรรมชั้นโทได้ สำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๔๙๗ สอบนักธรรมชั้นเอกได้ สำนักเรียนวัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๕๐๑ สอบประโยค ป.ธ.๓ ได้ สำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร  
การศึกษาอบรมภาคปฏิบัติ
การศึกษาอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
     พ.ศ. ๒๔๙๑ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้ติดตามพระอาจารย์จาริกไปอบรมและปฏิบัติธุดงควัตร ยังสำนักกรรมฐานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร เป็นเวลา ๓ เดือน
     พ.ศ. ๒๔๙๗ เข้าอบรมกรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา ๓ เดือน จนจบหลักสูตรที่สำนักกำหนด
     พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นกรรมการและเลขานุการ โครงการฟื้นฟูการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร (ถึงปี
พ.ศ.๒๕๑๘) พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นเลขานุการโครงการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ณ สำนักวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร และเข้ารับการอบรมปฏิบัติกรรมฐานตามหลักสูตรของสำนัก อย่างต่อเนื่อง (ถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจในสหรัฐอเมริกา)
     พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นประธานโครงการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน (เพื่อชาวไทยและชาวต่าง ประเทศ) ที่วัดธัมมาราม นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา (ถึงปัจจุบัน)
    พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นประธานโครงการปฏิบัติธรรมวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร นำคณะสงฆ์และพระภิกษุสามเณรนวกะ โครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาส ๑๒ สิงหามหาราชินี และ ๕ ธันวามหาราช พร้อมกับเปิดให้นักเรียนนิสิตนักศึกษาข้าราชการพ่อค้า
และประชาชน เข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด โดยจัดหลักสูตร ครั้งละ ๓ วัน ๗ วัน ๑๕ วัน และ ๑ เดือน  อย่างต่อเนื่อง (ถึงปัจจุบัน)
     พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมวัดยานนาวา โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้พิจารณาประกาศให้ วัดยานนาวา กรุงเทพ
มหานคร เป็นสำนักปฏิบัติธรรม ประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ ๑ 

การศึกษาอบรมพิเศษนอกระบบ
     นอกจากการศึกษาสายสามัญและปริยัติธรรมในระบบ และการศึกษาอบรมวิปัสสนากรรมฐานแล้ว พระพรหมวชิรญาณ ยังใฝ่ใจต่อการศึกษาค้นคว้าหาความรู้นอกระบบ ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม จากครูอาจารย์ จากตำรับตำรา จากห้องสมุด จากสื่อต่างๆ จากการสดับตรับฟังปาฐกถาการบรรยายการสนทนาธรรม ตลอดถึงโดยการเดินทางไปสังเกตการณ์และทัศนศึกษา ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ เพื่อสั่งสมประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

     โดยเฉพาะการศึกษาอบรมในด้านอักษรศาสตร์และการประพันธ์ (ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เคยมีผลงานนำตีพิมพ์ลงในนิตยสารและ
วารสาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในวาระต่างๆเสมอมา กับทั้งได้ส่งผลงานต่างๆ เข้าประกวด และได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศมา
หลายครั้ง

     นอกจากนั้น พระพรหมวชิรญาณ ยังใฝ่ใจศึกษาหาความรู้ในด้าน จิตรศิลป์ สังคม ปรัชญา จิต วิทยา รัฐศาสตร์ การปกครอง การบริหาร
จัดการ วิทยาศาสตร์ อิเลคทรอนิคส์ และคอมพิวเตอร์ เคยเข้ารับการอบรมวิชาการหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ วิชาเลขานุการ และการบริหารจัดการ เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการกุศลสงเคราะห์ต่อสังคม

     นอกจากวิชาความรู้ดังกล่าว พระพรหมวชิรญาณ ยังสนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในด้าน ดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์ มาแต่ยังเป็นสามเณร
มิใช่เพื่อส่งเสริมความงมงาย หรือคัดค้านกฎแห่งกรรม หรือหลักธรรมในพระพุทธศาสนา หรือศาสนาใดๆ แต่สนใจใฝ่รู้ในฐานะเป็นศาสตร์สถิติ โดยถือคติว่า ศาสตร์ทุกสาขา ถ้านำมาใช้เป็น ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่ตนและสังคมได้

     เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้นำศาสตร์ต่างๆที่ศึกษาค้นคว้าได้ มาใช้เป็นสื่อนำคนเข้าถึงธรรมและนำธรรมเข้าถึงคน เพื่อชี้นำและอนุเคราะห์ประชาชน ให้มีกำลังใจ ใช้สติยับยั้งตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และใช้ปัญญาป้องกันแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องผิดพลาดต่างๆ เพื่อพัฒนาชีวิตจิตใจให้สามารถบำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์แก่ตนและส่วนรวมให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป 

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
ตำแหน่งหน้าที่ทางการคณะสงฆ์ในประเทศไทย
     - พระอุปัชฌาย์ประเภทวิสามัญ (สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) ๒๕๒๗
     - กรรมการมหาเถรสมาคม (มีฐานะเท่ากับรัฐมนตรีของรัฐบาล) ซึ่งเป็นองค์การบริหารสูงสุดของคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย (สมเด็จพระ
สังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ.๒๕๔๔
     - รองประธานกรรมการฝ่ายการสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๔
     - กรรมการฝ่ายปกครอง ของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๔-
     - กรรมการฝ่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๔
     - กรรมการพิจารณางบประมาณศาสนสมบัติกลางประจำ(พ.ศ.ป.) ของมหาเถรสมาคม๒๕๔๔
     - เจ้าอาวาสวัดยานนาวาพระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร
       (สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ.๒๕๔๔
     - เจ้าสำนักเรียนวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๔๔-
     - รองประธานกรรมการประสานศูนย์สงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๕
     - รองประธานกรรมการเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์ และการจัดประโยชน์ที่ดินวัดร้าง  และศาสนสมบัติกลาง ของมหาเถรสมาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
     - กรรมการหน่วยอบรมประชาชนกลาง  (อ.ป.ก.) ของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๖
     - กรรมการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรอบรมพระสังฆาธิการ ระดับเจ้าอาวาส ของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๖
     - กรรมการจัดทำหลักสูตรอบรมพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะตำบลของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๖
     - กรรมการที่ปรึกษากรรมการโรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติของมหาเถรสมาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
     - กรรมการติดตามและประสานงานตามมติมหาเถรสมาคม ของมหาเถรสมาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
     - ผู้อำนวยการศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคมแห่งประเทศไทย
(ศูนย์พระสงฆ์อาสาสมัคร จัดพระสงฆ์เข้าสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมอาชีวะและมหาวิทยาลัย) ตามขอคำขอของสถาบันต่างๆ สังกัดสำนักเรียนวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๖
(โครงการฯ นี้ ได้ส่งนักเรียนนิสิตนักศึกษาและผู้รับการอบรมเข้าสอบธรรมศึกษาในสนามหลวงแผนกธรรมทุกชั้น มีสถิติส่งเข้าสอบและสอบได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทยทุกปี นับแต่ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน)
     - ได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้เป็นผู้แทนมหาเถรสมาคม เพื่อดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและเผยแพร่การพระศาสนาแห่ง
ประเทศไทย ปฏิบัติหน้าที่ประธานโครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนและสถาบันต่างๆ (หนึ่งครูพระหนึ่งตำบล ๘,๐๐๐ ตำบล ทั่วประเทศ
ไทย เพื่อพัฒนาชีวิตจิตใจเยาวชนและประชาชนให้เป็นกัลยาณชนคนดี) ตามคำขอของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ของรัฐบาลไทย
พ.ศ.๒๕๔๗
     - คณะทำงานกิจกรรมวัดไทยในต่างประเทศ ของมหาเถรมาคม (ประเทศไทย) พ.ศ.๒๕๔๗
     - กรรมการเร่งรัดการออกเอกสิทธิ์และการจัดประโยชน์ที่ดินวัดร้างและที่ดินศาสนสมบัติกลางใหม่ของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๗
     - กรรมการแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕  ของมหาเถรสมาคม
พ.ศ.๒๕๔๗-
     - กรรมการกลั่นกรองเลื่อนระดับพนักงานศาสนการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๗
     - ประธานกรรมการอำนวยการโครงการพระไตรปิฎกฉบับผู้เริ่มศึกษาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาส ๗๒
พรรษา ๒๕๔๗ วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗
     - กรรมการประสานงานการจัดนิทรรศการฉลองครบ๒๕๐ ปี การสถาปนานิกายสยามวงศ์ของประเทศ ศรีลังกา ของมหาเถรสมาคม พ.ศ.
๒๕๔๗
     - กรรมการพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับพระภิกษุสามเณรไปเดินห้างสรรพสินค้าและตลาดนัดของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๗
     - กรรมการพิจารณาจัดการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่   พ.ศของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๗
     - กรรมการกำหนดนโยบายงบประมาณศาสนสมบัติกลางเพื่อการพระพุทธศาสนาของมหาเถรสมาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
     - คณะทำงานและผู้แทนมหาเถรสมาคมออกไปสงเคราะห์พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนใน ๓ จังหวัดภาคใต้ ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗
     - เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ ๑ ๒๕๔๗
     - คณะกรรมการพิจารณากิจกรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ของมหาเถรสมาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
     - กรรมการกลั่นกรองเรื่องที่ควรนำเสนอมหาเถรสมาคมของมหาเถรสมาคม พ.ศ. ๒๕๔๘-
     - กรรมการอำนวยการข้อมูลสารสนเทศทางพระพุทธศาสนาของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๘-
     - กรรมการโครงการหนึ่งวัดหนึ่งศูนย์การเรียนรู้ (One Temple One E-Learning Center:OTEC) ของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๘
     - กรรมการพิจารณาโครงการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๘-
     - กรรมการพิจารณาโรงเรียนวิถีธรรมของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๘
     - กรรมการปรับปรุงคณะกรรมการร่างกฎระเบียบคำสั่งข้อบังคับและประกาศ ของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๔๘
     - คณะทำงานและผู้แทนมหาเถรสมาคมออกไปสงเคราะห์พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนใน ๖ จังหวัดภาคใต้ ที่ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ
๒๕๔๘
     - กรรมการจัดกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ  ๖๐ ปี พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๕๔๙
     - พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคม ให้เป็นผู้ดูแลวัดพุทธธรรม เมืองวิลโลบรูค มลรัฐอิลลินอยส์ ตามข้อเสนอขอของคณะ
กรรมการวัดนั้น และของประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
 
ตำแหน่งหน้าที่พิเศษในประเทศไทย
     - ประธานกรรมการอุปถัมภ์ สำนักเรียนและสำนักปฏิบัติธรรมณ วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๑๖-
     - ประธานกรรมการ มูลนิธิพระพุทธโลกนาถสุโขทัย วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ๒๕๒๘-
     - กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตอุบลราชธานี พ.ศ.๒๕๓๐-
     - กรรมการร่างหลักสูตรอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย (โดยสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ร่วมกับมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ ดำเนินการในนามของคณะสงฆ์ไทย พ.ศ. ๒๕๓๒
     - ประธานที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัด
อุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๓๙
     - ประธานที่ปรึกษากองทุนเทพประสิทธิ์เพื่อโครงการส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ บ้านยางน้อย จังหวัด
อุบลราชธานี พ.ศ.๒๕๔๐
     - กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดการศึกษาการศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนไทยในต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๐
     - กรรมการอุปถัมภ์โครงการอบรมพระธรรมทูต สายต่างประเทศ   ซึ่งสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ  มหา วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดขึ้นพ.ศ.๒๕๔๒
     - อาจารย์บัณฑิตพิเศษสาขาวิชาไทยศึกษาคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงพศ.๒๕๔๒
     - ที่ปรึกษามูลนิธิกาญจนบารมี ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ.๒๕๔๒
     - ประธานที่ปรึกษาฝ่ายบรรพชิตมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช พ.ศ. ๒๕๔๓
     - เป็นผู้คิดชื่อเพื่อพระราชทานถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๔๓
     - เป็นผู้คิดชื่อเพื่อพระราชทานถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ๒๕๔๓
     - ประธานโครงการโรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ (รพ.สงฆ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุบลราชธานี ขนาด ๔๐๐ เตียง ในงบ
ประมาณก่อสร้าง ๘๐๐-๑,๐๐๐ ล้านบาท  เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ.๒๕๔๔
     - ประธานกรรมการโครงการพัฒนา การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ และการส่งเสริมการปฏิบัติธรรม วัดยานนาวา เฉลิม
พระเกียรติฯ พ.ศ. ๒๕๔๔
     - ประธานมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ  สนับสนุนการก่อสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ(รพ.สงฆ์) ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๔๕-
     - ประธานมูลนิธิพระรัตนตรัย (เพื่อส่งเสริมการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์  การเผยแผ่ธรรม และกิจกรรมเทิดทูนสถาบันชาติศาสนา
พระมหากษัตริย์) เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗
     - ประธานมูลนิธิพระพรหมวชิรญาณ จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย เพื่อการศึกษาสงเคราะห์เยาวชนผู้ด้อยโอกาสที่เรียนดีในชนบท
พ.ศ.๒๕๔๘
     - รองประธานสภาธรรมกถึกแห่งคณะสงฆ์ไทย เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๔๘
     - ประธานกรรมการพัฒนาโครงการส่งเสริมศิลปาชีพฯบ้านยางน้อย จังหวัดอุบลราชธานี เฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาส ๗๒ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘ คือ
     - สร้างศาลาทรงงานในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพฯบ้านยางน้อยอุบลราชธานี เฉลิมพระเกียรติฯ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘  สิ้นเงินไป ๑๒ ล้านบาท
     - สร้างสวนสมเด็จฯสิริกิติ์ บ้านยางน้อย อุบลราชธานี เฉลิมพระเกียรติฯ พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘  สิ้นเงินไป ๔๒ ล้านบาท
     - สร้างอาคารแสดงและจำหน่ายสินค้าศิลปาชีพฯ บ้านยางน้อย อุบลราชธานี เฉลิมพระเกียรติฯ ๔ หลัง พร้อมซุ้มประตูตลาดศิลปาชีพฯ
ดังกล่าว พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๘ เป็นเงิน ๑๐ ล้านบาท
     - พัฒนาสนามกีฬาในโครงการศิลปาชีพฯ บ้านยางน้อย อุบลราชธานี เฉลิมพระเกียรติฯ  พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘ เป็นเงิน ๖ ล้านบาท
     - สร้างถนนและลานจอดรถในโครงการตลาดศิลปาชีพฯ บ้านยางน้อย อุบลราชธานี เฉลิมพระเกียรติฯ พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘ เป็นเงิน
๕ ล้านบาท
     - สร้างป้อมตำรวจดูแลโครงการศิลปาชีพฯบ้านยางน้อย อุบลราชธานี เฉลิมพระเกียรติฯ  พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘ เป็นเงิน ๘ แสนบาท
     - สร้างสระบัวในโครงการสวนสมเด็จสิริกิติ์บ้านยางน้อย อุบลราชธานี เฉลิมพระเกียรติฯ พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘ เป็นเงิน ๑.๕ ล้านบาท
     - ปลูกป่าในโครงการสวนสมเด็จสิริกิติ์ และในโครงการศิลปาชีพฯ บ้านยางน้อย อุบลราชธานีเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ดูแลรักษา พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘ เป็นเงิน ๒ ล้านบาท
     - สร้างถังเก็บน้ำส่งน้ำใช้ในโครงการสวนสมเด็จสิริกิติ์และในโครงการศิลปาชีพฯบ้านยางน้อยอุบลราชธานี เฉลิมพระเกียรติฯ พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘ เป็นเงิน ๕ แสนบาท
     - ประธานโครงการบุรณพัฒนาภายในอาคารมหาเจษฎาบดินทร์ ๓ ชั้น หอพระไตรปิฎกและกุฏิเจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๖ เป็นเงิน ๑๕ ล้านบาท
     - ที่ปรึกษาสมาคมความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๗
     - กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจังหวัดอุบลราชธานี ๒๕๔๗
     - ประธานโครงการบุรณพัฒนาพระอาราม วัดยานนาวา กรุงเทพมหานครเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
(โดยพระบรมราชานุญาต) พ.ศ.๒๕๔๗ ดังนี้
     - ประธานโครงการสร้างกุฎีสงฆ์ ๕ ชั้น วัดยานนาวา (รื้อกุฎิ ก.๑๐ ก.๑๑ และ ก.๑๒ ที่ทรุดโทรม ในพื้นที่เดิม พ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๔๙ ในงบ
ประมาณ ๓๐ ล้านบาท)
     - ประธานโครงการปรับปรุงพัฒนาสร้างร้านค้ารอบวัดยานนาวาขึ้นใหม่ (กำลังดำเนินการ) พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๕๒ ในงบประมาณ ๘๐๐
ล้านบาท
     - เป็นประธานโครงการบุรณพัฒนาพระอุโบสถวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร หลังปัจจุบัน  ที่ทรุดโทรมให้แข็งแรงและสวยงาม (กำลังดำเนินการ) พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๐ ในงบประมาณ ๕๕ ล้านบาท        
     - ประธานกรรมการบุรณพัฒนาเก๋งจีน วัดยานนาวา (กำลังดำเนินการ) ๒๕๔๗-๒๕๕๐ ในงบประมาณ ๕ ล้านบาท
     - ประธานกรรมการบุรณพัฒนาเรือสำเภา (กำลังดำเนินการ) ๒๕๔๗-๒๕๕๕  ในงบ๑๐ ล้านบาท
     - ประธานกรรมการสร้างอาคารการศาสนศึกษา และปฏิบัติธรรม เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ๔ ชั้น (กำลังดำเนิน
การ)  ๒๕๔๙-๒๕๕๐ ในงบประมาณ ๓๐ ล้านบาท
     - ประธานโครงการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ลานหน้าเรือสำเภาวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร
(ประเทศไทย)  โดยพระบรมราชานุญาต พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว (กำลังดำเนินการ)  ๒๕๔๗-๒๕๔๕๐ ในงบประมาณ ๑๐ ล้านบาท
     - ที่ปรึกษาพิเศษโครงการพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ตอนว่าด้วยพระสูตร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราสฯ สยามมกุฎราชกุมาร ๒๕๔๘ ของกรมการศาสนา(ประเทศไทย) ๒๕๔๘
     - ที่ปรึกษาสมาคมพัฒนาแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๘-
     - ประธานอนุกรรมการพิจารณากิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ ๖๐ ปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๕๔๙
และได้รับมอบให้ร้อยกรองอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ สดุดีและถวายพระพรชัยมงคล ในนามของคณะสงฆ์ไทย ในมหามงคลสมัยนี้
     - ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพ.ศ.๒๕๔๘

ตำแหน่งหน้าที่ในต่างประเทศ
      -เป็นผู้ช่วยเลขานุการโครงการสร้างวัดไทย ณ นครลอส แอนเจลิส นอร์ธ ฮอลลีวูด สหรัฐฯ(ฝ่ายประเทศไทย)  เพื่อกิจกรรมทางศาสนา
และวัฒนธรรมไทย สำหรับชุมชนไทยและชาวพุทธในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๘
     - ประธานกรรมการโครงการสร้างวัดธัมมาราม นครชิคาโก  และเป็นเจ้าอาวาสวัดธัมมารามรูปแรก เพื่อสงเคราะห์ชุมชนไทยและชาวพุทธใน
สหรัฐอเมริกา ๒๕๑๙ จนถึงปัจจุบัน
     - เป็นคณะผู้ก่อตั้งสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาฯ และได้รับเลือกให้เป็นประธานสมัชชาฯรูปแรกเพื่อบริหารองค์กรการจัดประชุมปรึกษา
หารือกำหนดศาสนกิจอันเป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์แก่ประชาชนและประเทศสหรัฐอเมริกา ให้สอดคล้องเป็นแบบฉบับอันหนึ่งอันเดียวกัน
(ติดต่อกัน ๖ สมัย) ๒๕๑๙-๒๕๓๐
     - ในฐานะประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา  เป็นประธาน นำคณะสงฆ์ไทยทุกรัฐ ในสหรัฐฯ เผยแผ่ธรรม โดยเน้นให้ชาวพุทธใน
สหรัฐฯปฏิบัติในหลักเบญจศีลอย่างเคร่งครัด คือการไม่เบียนเบียนทำลายกันในทางชีวิต ไม่ลักขโมยแย่งชิงทรัพย์สินสิ่งของกัน ไม่แย่งชิง หรือ
ผิดประเวณีในคู่ครองกัน ไม่โกหกหลอก ลวงกัน ไม่มั่วสุมอบายมุขหรือผลิตเสพขายสิ่งเสพติดให้โทษ ให้เคารพต่อกฎหมายของบ้านเมือง และบำเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี คือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ให้รัก และทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อที่นั่น  อันเป็นหลักเมตตา ความรักความปรารถนาดีต่อกัน อันจะนำสังคมไปสู่สันติภาพและสันติสุข ซึ่งพระสงฆ์ไทยในสหรัฐฯถือเป็นหลักปฏิบัติสืบมาแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๙ จนถึงปัจจุบัน
     - เป็นประธานโครงการ ให้คำแนะนำปรึกษาอนุเคราะห์สงเคราะห์โดยธรรมวิธีแก่ชาวไทยชาวพุทธอพยพและนานาชาติในสหรัฐอเมริกา ที่มี
ปัญหาในทางชีวิตจิตใจ เพื่อให้มีขวัญกำลังใจในการดำรงดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามและให้มีคุณค่า ๒๕๒๐-ปัจจุบัน
     - เป็นประธานโครงการจัดแพทย์พยาบาลอาสาสมัคร เพื่อตรวจและบำบัดสุขภาพพลานามัยขั้นพื้นฐาน โดยใช้วัดธัมมาราม นครชิคาโก เป็นสถานที่บริการฟรี ในวาระต่างๆ ๒๕๒๒-
     - เป็นประธานโครงการไมตรีสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและชาวอเมริกันเพื่อนบ้าน ในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมร่วมกัน โดยใช้สถานที่
วัดธัมมาราม นครชิคาโก เป็นศูนย์กลางการประชุมและในการจัดกิจกรรม ๒๕๒๕-ปัจจุบัน
     - ประธานกรรมการโครงการสร้างวัดพุทธาวาส นครฮิวสตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และเป็น เจ้าอาวาสรูปแรก เพื่อกิจกรรมทางศาสนาและ
วัฒนธรรม ๒๕๒๕-๒๕๓๐
     - ประธานกรรมการโครงการสร้างวัดพุทธรังษี นครไมอามี่ รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก เพื่อกิจกรรมทางศาสนาและ
วัฒนธรรม ๒๕๒๕-๒๕๓๐
     - เป็นประธานอุปถัมภ์และที่ปรึกษาในการสร้างวัดพุทธลาว แห่งรัฐอิลลินอยส์ เพื่อพระสงฆ์และชาวลาวอพยพในรัฐอิลลินอยส์ ๒๕๒๕-
ปัจจุบัน
     - เป็นประธานอุปถัมภ์และที่ปรึกษาในการสร้างวัดพุทธเขมร แห่งรัฐอิลลินอยส์ เพื่อพระสงฆ์และชาวเขมรอพยพในรัฐอิลลินอยส์ ๒๕๒๖-
ปัจจุบัน
     - เป็นกรรมการอุปถัมภ์ที่ปรึกษาวัดพุทธาวาส นครฮิวสตัน พ.ศ.๒๕๒๘-ถึงปัจจุบัน
     - เป็นกรรมการอุปถัมภ์ที่ปรึกษาวัดพุทธรังษี นครไมอามี่   พ.ศ.๒๕๒๘-ถึงปัจจุบัน
     - เป็นกรรมการอุปถัมภ์และที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ๒๕๓๐- ถึงปัจจุบัน
     - รองประธานอำนวยการสร้างวัดพุทธสิริราชคฤห์ เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย ๒๕๔๘-
     - เป็นประธานโครงการสร้างวัดนวมินทรราชูทิศ ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน  และศูนย์วัฒนธรรมอเมริกัน-ไทย ณ นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พ.ศ.๒๕๔๙ และเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเฉลิมพระ
ชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ.๒๕๕๐  ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม
พ.ศ.๒๕๔๕-(กำลังดำเนินการ)
งานการปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์ในประเทศไทย
     - เป็นประจำสำนักงานคณะกรรมการบริหารคณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานี ๒๔๙๔-๒๔๙๗
     - เป็นประจำสำนักงานเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร สนองศาสนกิจต่างๆในเจ้าพระคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณณก
มหาเถร) เจ้าอาวาส ๒๕๐๑-๒๕๑๐
     - เป็นประจำกองงานเจ้าคณะตรวจการภาค ๓ (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทย) ๒๕๒๑-๒๕๑๐
     - เป็นเลขานุการเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส ๒๕๑๐-๒๕๓๐
     - เป็นเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในหนเหนือของประเทศไทย ๒๕๐๘-๒๕๑๐
     - เป็นเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในหนตะวันออกของประเทศไทย ๒๕๑๐-๒๕๓๐
     - เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส ๒๕๑๖-๒๕๔๔
     - เป็นรองประธานกรรมการบริหารคณะสงฆ์วัดจักรวรรดิราชาวาส ๒๕๓๐-๒๕๔๔
     - เป็นประธานกรรมการฝ่ายการปกครองคณะสงฆ์วัดจักรวรรดิราชาวาส ๒๕๓๐-๒๕๔๔
     - เป็นเจ้าคณะ ๑ วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ๒๕๓๕-๒๕๓๘
     - เป็นเจ้าคณะ ๘ วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๐-๒๕๔๔
     - เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะ ๖ วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๓-๒๕๔๔
     - ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดยานนาวา ในปลายปี พ.ศ.
๒๕๔๔ และเดินทางมารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕

การปกครองคณะสงฆ์ในต่างประเทศ
     - พ.ศ.๒๕๑๘ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุธีรัตนาภรณ์ ในฐานะเลขานุการแม่กองงานพระธรรมทูตแห่งคณะสงฆ์ไทย ได้รับบัญชาจากเจ้า
พระคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณณกมหาเถร) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส และแม่กองงานพระธรรมทูต ให้เดินทางไปคลี่ คลายปัญหา
และสนับสนุนการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ และชาวไทยในนครนิวยอร์คและในสหรัฐอเมริกา (ร่วมกับเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค) เมื่อปลายปี ๒๕๑๘
     - เป็นที่ปรึกษาศูนย์พระพุทธศาสนาไทยแห่งรัฐอิลลินอยส์ นครชิคาโก เพื่อสนับสนุนกิจ กรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมไทยของชุมชนไทย
ในรัฐอิลลินอยส์ ๒๕๑๙
     - เป็นประธานกรรมการอำนวยการ (เจ้าอาวาส) วัดธัมมาราม นครชิคาโก ๒๕๑๙-
     - เป็นประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสมหรัฐอเมริกา ๒๕๑๙-๒๕๓๐
     - เป็นประธานกรรมการอำนวยการ(เจ้าอาวาสวัดพุทธาวาส นครฮิวสตัน รัฐเท๊กซัส รูปแรกพ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๘
     - เป็นประธานอำนวยการ (เจ้าอาวาสวัดพุทธรังษี นครไมอามี่ รัฐฟลอริดา รูปแรก) ตามข้อเสนอของพระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท) วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดีซี. ผู้ประสานงานกับพุทธศาสนิกชนในนครไมอามี่ ในการสร้างวัดไทยในรัฐนั้น ๒๕๒๕-๒๕๒๘
     - เป็นประธานอำนวยการวัดนวมินทรราชูทิศ  นครบอสตัน  สหรัฐอเมริกา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสฉลองสิริ
ราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พ.ศ.๒๕๔๙  และเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐  ในพระสังฆราชูปถัมภ์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม (ประเทศไทย) พ.ศ.๒๕๔๕-
     - เป็นประธานโครงการศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน  และ ศูนย์วัฒนธรรมอเมริกัน - ไทย ณ วัดนวมินทรราชูทิศ นครบอสตัน เฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อประโยชน์และสันติสุขแก่ชาวไทยชาวอเมริกันและชาวโลก ๒๕๔๕ถึงปัจจุบัน  
งานการศึกษา
งานการศาสนศึกษาในสำนักในประเทศ
     - พ.ศ.๒๕๑๖ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระสุธีรัตนาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าสำนักเรียนวัดจักวรรดิราชาวาส ได้สนองงานเจ้าสำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชา
วาส ในด้านการบริหารจัดการ การศาสนศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี ตลอดถึงธรรมศึกษาในสำนักเรียนด้วยดี นอกจากนั้น ยังได้
ส่งเสริมอุปถัมภ์การศาสนศึกษา โดยจัดมอบรางวัลแก่พระภิกษุสามเณรที่สอบธรรมและบาลี ตลอดถึงแก่กุลบุตรกุลธิดาที่สอบธรรมศึกษาได้ใน
สนามหลวง ของสำนักตลอดมาทุกปี มีพระภิกษุสามเณรที่สอบได้ นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก จนถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค รวมถึงสอบธรรมศึกษา
ชั้นตรี-โท-เอก ได้เป็นจำนวนมากทุกปี จนถึงปี พ.ศ.๒๕๔๔
     - พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้สนองงานเจ้าสำนักเรียน ด้วยการส่งเสริมการศึกษาพระภิกษุสามเณรที่สอบธรรมชั้นเอกและสอบบาลีได้ในสำนัก ได้ศึกษาปริญญาตรี-โท-เอกต่อในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งในและต่างประเทศ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๔
     - พ.ศ.๒๕๔๔ พระพรหมวชิรญาณ ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราช ให้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสและเป็นเจ้าสำนักเรียนวัดยานนาวา
กรุงเทพมหานคร แล้ว ก็ได้ศึกษาหาแนวทางบริหารจัดการและส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการศาสนศึกษาพระปริยัติธรรมที่ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควรให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
     - ปรากฏว่า การเรียนการสอนและการสอบธรรม-บาลีและธรรมศึกษา ของสำนักเรียนวัดยานนาวา ในปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๖ เริ่มกระเตื้องขึ้น ส่วนแผนกธรรมศึกษา มีความกระเตื้องขึ้นมาก
     - ในปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ นี้ มีพระภิกษุสามเณรเปรียญธรรม ๗-๘ ประโยค (เปรียญเอก) รวม ๑๐ รูป เฉพาะพระเปรียญธรรม ๙ ประโยค มีจำนวน ๕ รูป จัดอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ได้ ซึ่งยังไม่เป็นที่พอใจนัก จึงพยายามพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไปอีก
     - ในปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘ การเรียนการสอนและการสอบธรรม ของสำนักเรียนวัดยานนาวา มีความกระเตื้องขึ้นเป็นอย่างมาก คือสอบได้
ถึง ๙๐% ส่วนแผนกธรรมศึกษามีสถิติการเรียนและผลการสอบได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ส่วนแผนกบาลีแม้จะกระเตื้องขึ้น แต่ยังไม่เป็นที่พอใจนัก ขณะนี้กำลังหาทางพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
งานการศาสนศึกษานอกสำนักในประเทศ
     - พ.ศ.๒๕๒๘ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชรัตนาภรณ์ ในฐานะประธานกรรมการอุปถัมภ์สำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำเจ้าสำนักเรียนวัดยางน้อย ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงในด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระในอดีต ต่อมาได้หยุดชะงักลง โดย
ได้ฟื้นฟูการศึกษาพระปริยัติแผนกธรรมและบาลี ควบคู่กับในด้านวิปัสสนาธุระขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แต่การดำเนินการยังดำเนินไปแบบค่อยเป็นไป
ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
     - พ.ศ.๒๕๓๕ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพประสิทธิมนต์ ในฐานะประธานมูลนิธิพระพุทธโลกนาถสุโขทัย และประธานกรรมการอุปถัมภ์
สำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำเจ้าสำนักเรียนวัดยางน้อย พัฒนาการศึกษาพระปริยัติทั้งแผนก
ธรรมและบาลี โดยนำอุปสรรคปัญหาต่างๆมาแก้ไข ปรากฏว่า ในช่วงนี้มีพระภิกษุสามเณรนักธรรมและบาลีรวมถึงธรรมศึกษา เล่าเรียนและสอบได้ในสนามหลวงได้ เป็นจำนวนมาก เป็นที่พอใจในระดับหนึ่ง
     - พ.ศ.๒๕๔๒ ได้เร่งรัดพัฒนาส่งเสริมการศาสนศึกษา สำนักเรียนวัดยางน้อย ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพยิ่งขึ้น มีพระภิกษุสามเณรและนักเรียนเข้าสอบธรรมและบาลี รวมถึงธรรมศึกษา และสอบในสนามหลวงได้ เป็นอันดับหนึ่งของอำเภอ และเป็นอันดับสองของจังหวัดทุกปี
     - พ.ศ.๒๕๔๗ มีพระเปรียญในสำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน อุบลราชธานี คือพระมหาชินวัชร ชินวํโส สอบบาลี ๙
ประโยคได้ ๑ รูป (ทั้งจังหวัดสอบได้เพียง ๑ รูป) ด้วยเหตุนี้ พระพรหมวชิรญาณ จึงรับเป็นประธานโครงการจัดพิธีฉลองและมอบรางวัลแก่พระ
ภิกษุสามเณรที่สอบธรรมชั้นตรี-โท-เอก และบาลีประโยค ป.ธ.๓-๙ ได้ในสำนักทั้งหมด นอกจากนั้น ยังได้นิมนต์ครูอาจารย์ผู้ทำการสอน และ
พระภิกษุสามเณร ที่สอบนักธรรมและบาลี พร้อมกับเชิญนักเรียนที่สอบธรรมศึกษาได้ ทุกชั้นทุกสำนัก ในภาค ๑๐ ของคณะสงฆ์ มาร่วมรับการ
ฉลองและรับรางวัล ที่วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ด้วย ยังความปีติและกำลังใจให้เกิดแก่ครูอาจารย์และพระ
ภิกษุสามเณรตลอดถึงนักเรียนที่สอบได้เป็นอย่างยิ่ง
การศึกษาสงเคราะห์ในประเทศไทย
     - พ.ศ. ๒๕๐๘  เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดจักรวรรดิราชาวาสถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๘ (เนื่องจากเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจในสหรัฐอเมริกา)
     - พ.ศ. ๒๕๐๘  เป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนประชาบาลตำบลก่อเอ้ ๑ (พรมพิทยา) บ้านยางน้อยตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จนถึงปัจจุบัน
     - พ.ศ. ๒๕๓๘  เป็นประธานกรรมการประสานงานกับสภาตำบลก่อเอ้และประชาชนในพื้นที่ตำบลก่อเอ้ ที่เข้าถือครองที่ดินราชพัสดุหนอง
แฝก บ้านยางน้อย เพื่อทำเกษตรกรรม แต่มิได้ทำการเกษตร เพื่อนำมาดำเนินโครงการอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก เนื่อง
ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ พรรษา (อันเป็นผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ขยายวิทยาลัย
เขตออกมาตั้งอยู่ในพื้นที่หนองแฝก จำนวน ๑,๐๘๐ ไร่ เป็นวิทยาลัยเขตแห่งใหม่ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในภูมิภาคนี้ ขณะนี้ (๒๕๔๙) อยู่ระหว่างทำการก่อสร้าง)
     - พ.ศ. ๒๕๔๔ เมื่อพระพรหมวชิรญาณ ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราช ให้ย้ายมาเป็นเจ้าสำนักเรียนวัดยานนาวา ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสสังคมโลกและสังคมสงฆ์ กำลังหันเหการศึกษาธรรมและบาลี ไปสนใจการศึกษาสายสามัญ อันเป็นผลให้สถิติการบรรพชาสามเณรเพื่อศึกษาธรรมและบาลีในระยะที่ผ่านมา ลดลงอย่างน่าตกใจ ส่งผลให้สถิติการเรียนการสอบธรรมและบาลี ของสำนักเรียนของคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ รวมถึงสำนักเรียนวัดยานนาวา พลอยถูกกระทบไปด้วย
พระพรหมวชิรญาณ ได้ทำการวิเคราะห์วิจัยสถานการณ์พระศาสนาส่วนนี้ อย่างรอบคอบ จึงประสานกับกองธรรมและกองบาลีของคณะสงฆ์ หาแนวทางแก้ไขปัญหาการศาสนศึกษาของคณะ สงฆ์ทั้งระบบ เพื่อหาทางปรับปรุงและเร่งรัดพัฒนาการศาสนศึกษาของสำนักเรียนวัดยานนาวา คือ
     - พ.ศ. ๒๕๔๕  ส่งเสริมแผนก ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดยานนาวาซึ่งจัดการเรียนการสอนในสำนักมาแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องการเรียนการสอนธรรมะ วิชาการทางพระพุทธศาสนา ตลอดถึงศิลปะวัฒนธรรมประเพณี และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งบริหารและดำเนินการสอนโดยครูอาจารย์ฝ่ายคณะสงฆ์วัดยานนาวา และคฤหัสถ์มีผู้มีจิตศรัทธาได้เสียสละเวลามาเป็นครูอาสาสมัคร และให้ความอุปถัมภ์สนับสนุนในด้านต่างๆ ตลอดมา
     - พ.ศ. ๒๕๔๖ ส่งเสริมสนับสนุน แผนก ธรรมศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ รวมถึงขยายโอกาสให้นักเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆได้เรียนธรรมะ โดยการจัดส่งครูพระสงฆ์ของสำนัก เข้าสอนในโรงเรียนประถม มัธยม อาชีวะและอุดมศึกษา แล้วรับเข้าสอบธรรมศึกษาแผนกธรรมสนามหลวงในนามของสำนักเรียนวัดยานนาวา
     - พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้วางนโยบายเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาการศึกษาปริยัติสามัญ โดยการสร้างอาคารเรียนรองรับให้เรียบร้อยและเพียงพอ พร้อมกับเตรียมคณะกรรมการจัดหลักสูตรโดยคงการศาสนศึกษาแผนกธรรมและบาลีเดิม ไว้ในหลักสูตรการศึกษา พร้อมกับนำวิชาการศึกษาสายสามัญเข้ามาเสริม เพิ่มระบบความเป็นอยู่ตลอดถึงกิจวัตรกิจกรรม ความเข้มแข็งในด้านระเบียบวินัย และการบริหารจัดการมาบูรณาการจัดการศาสนศึกษา ทั้งนี้ เพื่อพระภิกษุสามเณรและเยาวชนในสถาบันการศึกษาของสำนัก มีความรู้ทั้งในด้านปริยัติธรรมและในด้านสามัญศึกษาต่อไป
     - พ.ศ. ๒๕๔๗ รับ ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคมแห่งประเทศไทยซึ่งขาดสำนักเรียนและถานที่ตั้งดำเนินการไว้ในสังกัดของสำนักเรียนวัดยานนาวา โดยเจ้าสำนักเรียนเป็นผู้อำนวยการ มีพระสงฆ์เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนพระภิกษุสงฆ์รุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถและมีความเสียสละ ได้เข้าไปสอนในโรงเรียน ในสถาบันการศึกษา ในทัณฑสถาน ตลอดถึงในโรงงานต่างๆ ทั้งในกลุ่มปรกติและกลุ่มเสี่ยง โดยขอให้โครงการฯนี้อยู่ความอุปถัมภ์ของ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาเถรสมาคม โดยมุ่งผลให้เยาวชนนักเรียนนักศึกษาและพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ให้ห่างไกลจากอบายมุขไม่ผลิตไม่เสพไม่ขายสิ่งเสพติดให้โทษ และให้เป็นกัลยาณชนคนดีของสังคมเป็นสำคัญ พร้อมกับจัดส่งผู้ได้รับการศึกษาอบรมธรรมะ ดัง กล่าว เข้าสอบธรรมศึกษา ในสนามหลวงแผนกธรรมศึกษา ในนามของสำนักเรียนวัดยานนาวา เพื่อนักเรียนนักศึกษานอกจากจะได้รับความรู้แล้ว เมื่อสอบได้ยังจะได้รับประกาศนียบัตร จากกองธรรมสนามหลวง หรือรับวุฒิบัตรจากโครงการฯด้วย ผลการศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๔๖-๒๕๔๗ ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าสำนักเรียนวัดยานนาวา มีสถิติส่งธรรม
ศึกษาเข้าสอบและสอบได้ในสนามหลวง มากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย แม้จะมีผลเลิศในทางปริมาณการสอบได้ แต่สำนักเรียนและคณะ กรรมการศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคมฯ ก็ยังเป็นห่วงในด้านคุณภาพ หรือความประพฤติและการปฏิบัติตน ของนักเรียนนักศึกษา จึงได้ตระหนักเน้นและเข้มงวดกวดขัน ในการนำธรรมะที่ได้ศึกษาอบรม นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นด้วย
     - พ.ศ. ๒๕๔๗   รับศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคมแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่มีสถานที่ตั้ง ไว้เป็นโครงการสังกัดสำนักเรียนวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร เพื่อจัดส่งผู้รับการอบรมเข้าสอบธรรมศึกษารับประกาศนียบัตรจากกองธรรมสนามหลวงได้ ซึ่งศูนย์ดังกล่าว มีเจ้าสำนักเรียนวัดยานนาวาเป็นผู้อำนวยการ มีพระสงฆ์เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ดำเนินการจัดส่งพระสงฆ์อาสา สมัครที่รับการฝึกอบรมดีแล้ว เข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมอาชีวะและอุดมศึกษา ตลอดถึงใน ทัณฑสถานและโรงงานต่างๆให้เป็นพลเมืองดีมีศีลธรรม มีนักเรียนนิสิตนักศึกษาประชาชน สถาบัน การศึกษาและโรงงานต่างๆ ให้ความสนใจนิมนต์พระสงฆ์ของศูนย์ เข้าสอนในสถาบันของตนจำนวนมาก และมีนักเรียนนิสิตนักศึกษา โครงการฯนี้ ส่งเข้าสอบและสอบธรรมศึกษาตรีโทเอกได้ เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย นับแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๗ เป็นต้นมา
     - พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคม ให้เป็นผู้แทนดำเนินโครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและการเผยแพร่การศาสนาแห่งประเทศไทยเพื่อจัดส่งครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน หนึ่งโรงเรียนหนึ่งตำบล ทั่วพระราชอาณาจักร จำนวน ๘๐๐ รูปโดยใช้สถานที่วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งสถาบันและสถานที่อบรมประชุมสัมมนาครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ปัจจุบันดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมการอบรมศีลธรรม  คุณธรรม  จริยธรรม  และโครงการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีไทย ติดต่อมาจนถึงปัจจุบัน
การศึกษาสงเคราะห์ในต่างประเทศ
     - พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นประธานโครงการโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เพื่อสอนธรรมะ ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย แก่เยาวชนอเมริกันเชื้อสายไทยในสหรัฐอเมริกา ณ วัดธัมมาราม นคร ชิคาโก จนถึงปัจจุบัน
     - พ.ศ.๒๕๒๘  เป็นประธานโครงการโรงเรียนภาคฤดูร้อน โดยร่วมกับคณะครุศาสตร์จุฬา ลงกรณมหาวิทยาลัย เชิญครูอาสาสมัครจากคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย แก่เยาวชนอเมริกันเชื้อสายไทย ณ วัดธัมมาราม นครชิคาโก จนถึงปัจจุบัน
     - พ.ศ.๒๕๓๐ ในฐานะประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา จัดประชุมวัดและพระสงฆ์ทุกวัดในสหรัฐฯ เพื่อขยายโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ไปเปิดสอนทุกวัดในสหรัฐฯ ที่มีความพร้อม โดยร่วมมือกับคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จัดส่งครูอาสาสมัคร
ไปช่วยสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ทั่วทุกรัฐในสหรัฐอเมริกา จนถึงปัจจุบัน
     - พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นประธานโครงการ เปิดสนามสอบภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ในสหรัฐ อเมริกา โดยขอความอุปถัมภ์จากกระทรวงศึกษาธิการ แห่งประเทศไทย ไปเปิดสนามจัดสอบธรรมศึกษาในสหรัฐฯ เพื่อรับประกาศนียบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการ แห่งประเทศไทย จนถึงปัจจุบัน (วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนธรรมะภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อเยาวชนอเมริกันเชื้อสายไทยในสหรัฐฯ เมื่อเยาวชน
ได้รับการศึกษาอบรมดี และได้รับประกาศนียบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการแห่งประเทศไทยแล้ว แม้เด็กจะดำรงชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกา ก็จะสามารถนำเอาความรู้และธรรมะในวิถีพุทธไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต สมกับเป็นชาวพุทธที่ดี มีเมตตาความรักความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ทุกชาติชั้นวรรณะและทุกศาสนา รู้จักใช้ปัญญาความรู้ คู่ศีลธรรม คุณ ธรรมและจริยธรรม เป็นผู้มีเหตุผล สามารถจะปรับตัวดำรงตน อยู่ร่วมกับคนทั้งหลายได้ อย่างเป็นสุข กับทั้งจะเป็นผู้แทนพระสงฆ์ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง ในขณะเดียวกัน ถ้าหากเยาวชนคนอเมริกันเชื้อสายไทยเหล่านี้ จะเดินทางติดตามมารดาบิดากลับไปอยู่ประเทศไทยในอนาคต ก็จะไม่เกิดความขัดแย้งในการดำเนินชีวิต แต่จะปรับตัวและจิตใจเข้ากับสภาพแวด ล้อมในวิถีพุทธได้อย่างกลมกลืนด้วยดีต่อไป)
     - พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นประธานนำข้อสอบไปเปิดสอบสนามสอบธรรมศึกษาสนามหลวง ณ วัดธัมมาราม นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา
     - พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นประธานนำข้อสอบไปเปิดสอบสนามสอบธรรมศึกษาสนามหลวง ณ วัดธัมมาราม นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น