หน้าเว็บ

ผลงานตามพระราชดำริ






โครงการส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถบ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
     ในปี ๒๕๓๘ พระพรหมวชิรญาณ ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระเทพประสิทธิมนต์ วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ได้นำสภาตำบล 
ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนชาวชนบทในภูมิภาคนี้ ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณสมเด็จพระนางเจ้าฯพระ
บรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาเสด็จฯพระราชทานโครงการส่งเสริมศิลปาชีพในพระองค์ พร้อมโครงการทฤษฎีใหม่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว เพื่อดำเนินการสงเคราะห์ประชาชนในพื้นที่ ๘๐๐ ไร่ ณ ป่าหนองแฝกบ้านยางน้อย ดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ทำให้
ประชาชนในตำบลและอำเภอต่างๆในภูมิภาคนี้มีโอกาสเข้าเป็นสมาชิกฝึกอาชีพเสริมได้รับประโยชน์ และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
     พระพรหมวชิรญาณ ได้ตั้งใจปฏิบัติศาสนกิจและสนองพระมหากรุณธิคุณ โดยได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ให้ถวายงานด้านศาสนพิธีและ
การสาธารณสงเคราะห์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถและในสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ในพระวโรกาสต่างๆ เป็น
การส่วนพระองค์สม่ำเสมอมา
     ในปัจจุบัน พระพรหมวชิรญาณ ได้รับพระมหากรุณาให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาโครง การส่งเสริมศิลปาชีพบ้านยางน้อยแห่งนี้ โดยมี ท่านผู้หญิง จรุงจิตต์  ฑีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์ เป็นประธานกรรมการดำเนินโครงการฯ โดยมีข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนอีก
ส่วนหนึ่ง ร่วมเป็นกรรมการอำนวยการ และกรรมการดำเนินงานสนองพระราช ดำริ  
     ปี ๒๕๔๗ พระพรหมวชิรญาณ ได้รับความไว้วางใจให้เป็นประธานอำนวยการพัฒนาโครงการส่งเสริมศิลปาชีพฯบ้านยางน้อย อุบลราชธานี 
ประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา มี่เนื้องานสำคัญดังนี้
๑. สร้างศาลาทรงงานหลังใหม่ เป็นเงิน ๑๒ ล้านบาท 
๒. สร้างอาคารจำหน่ายสินค้าศิลปาชีพ ๔ หลัง พร้อมซุ้มตลาดชุมชนศิลปาชีพฯ และถนนในโครงการ เป็นเงิน ๑๐ ล้านบาท 
๓. สร้างสวนสมเด็จฯสิริกิติ์ พร้อมอาคารเฉลิมพระเกียรติ เป็นงิน ๔๐ ล้านบาท

โครงการสร้างโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
     เนื่องจากพระสงฆ์ ๑๙ จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีจำนวน๗๕% ของพระสงฆ์ทั้งประเทศ มีความเดือดร้อน
เรื่องสุขภาพพลานามัย จึงร่วมกันจัดทำโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสงฆ์ขึ้นที่บ้านปลาดุก หมู่ที่ ๓ ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี 
จังหวัดอุบลราชธานี ในพื้นที่จำนวน ๗๑ ไร่ มีสถานที่พำนักพักฟื้นสำหรับพระภิกษุสามเณรและคนไข้ จำนวน ๓๔ ไร่ มีสวนสมุนไพร จำนวน ๓๙๘ ไร่ 
     โดยในระยะแรก พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา เป็นที่ปรึกษาฝ่ายบรรพชิต พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ เป็นที่ปรึกษาฝ่ายคฤหัสถ์ พระเทพกิตติมุนี เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานฝ่ายบรรพชิต นายสุรศักดิ์  เทียมประเสริฐ เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์
     ในการนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับโครงการฯนี้ ไว้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ และได้เสด็จฯ พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ไปทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕ และพระราชทานนามว่า โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
     การดำเนินโครงการฯในระยะแรก มีปัญหาอุปสรรคนานาประการ คณะสงฆ์และประชาชน จึงมีมติขอให้ พระพรหมวชิรญาณ เป็นประธานฝ่ายบรรพชิต และ ขอให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ 
     ต่อมา สมเด็จพระโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณขึ้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนา พระพรหมวชิรญาณ เป็นประธานมูลนิธิฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อให้มูลนิธิฯ เป็นผู้จัดหาทุนและดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ขนาด ๔๐๐ เตียง ในวงเงินงบ ประมาณ ๘๐๐ ล้านบาท 
     ประกอบด้วย อาคารผู้ป่วยนอก-อุบัติเหตุ อาคารบริการ ๒ ชั้น อาคารที่พักแพทย์ อาคารอเนกประสงค์ อาคารที่พักพยาบาล ทางเดินเชื่อม
ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ระบบรวมน้ำเสียพร้อมระบบบำบัดน้ำเสียและระบบสาธารณูปโภคพร้อมทั้งได้พระราชทานแนวพระราโชบาย ให้โรง
พยาบาลสงฆ์แห่งนี้สามารถบำบัดรักษาประชาชนได้ด้วย
     ในการดำเนินงานก่อสร้าง มูลนิธิฯ และคณะกรรมการโครงการฯ ได้แบ่งงานเป็น ๓ ระยะ ขณะนี้ ได้ดำเนินการเสด็จไปแล้วในระยะแรก เป็นโรงพยาบาล ขนาด ๘๐ เตียง ใช้งบประมาณในการก่อสร้างไปแล้วประมาณ ๑๖๐ ล้านบาท
     โครงการ โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ (โรงพยาบาลสงฆ์)ได้รับพระเมตตานุเคราะห์ให้อยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ของ สมเด็จ
พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก และได้รับเมตตานุเคราะห์จาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ สมเด็จ
พระมหารัชมังคลาจารย์ และสมเด็จมหาวีรวงศ์ ซึ่งรับเป็นองค์อุปถัมภ์ที่ปรึกษามูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
     ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ และโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทรงเททองหล่อ และเสด็จฯ เป็นไปประธานในพิธีมหาพุ
ทธาภิเษก เพื่ออัญเชิญไปเป็นประธานประจำโรงพยาบาลสงฆ์ แห่งนี้
     ขณะนี้ มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ให้กระทรวงสาธารณสุข ในส่วนระยะที่ ๑ ที่แล้วเสร็จ เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินจัดแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ เข้าไปดำเนินการบริการแก่พระสงฆ์และประชาชน ในวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๘ นี้
     อนึ่ง เพื่อเป็นเกียรติมงคลแก่โรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ (โรงพยาบาลสงฆ์) มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ 
ได้ขอพระอนุญาตอัญเชิญพระนามของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังราช สกลมหาสังฆปริณายก ประดิษฐานที่ด้านหน้าวิหารพระพุทธนิร
โรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ นามสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประดิษฐานที่อาคารผู้ป่วยนอก-อุบัติเหตุ นามสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ประดิษฐานที่อาคาร
อเนก ประ สงค์ นาม สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ประดิษฐานที่อาคารรักษาพยาบาลและคนไข้ และนาม สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ประดิษฐานที่อาคารบริการ ๒ ชั้น
     ส่วนงานก่อสร้างที่เหลืออีก ๒ ระยะ มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิรลงกรณ จะดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งคาดว่าจะ
เปิดให้บริการทั้งโครงการฯ โดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งต้องใช้งบประมาณอีกเป็นเงิน ๕๐๐ ล้านบาท
     พระพรหมวชิรญาณ ในฐานะประธานมูลนิธิฯ พร้อมคณะกรรมการโครงการฯ ได้ดำเนิน การสนองศาสโนบายของมหาเถรสมาคม ในด้านการ
สาธารณสงเคราะห์ แก่พระสงฆ์และประชาชนในชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งความสำเร็จต่างๆเกิดขึ้นได้แต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ก็ด้วยพระ
กรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร พร้อมได้รับพระเมตตานุเคราะห์จากมหาเถรสมาคม ตลอดจนถึงเจ้าคณะพระสัง
ฆาธิการและพุทธศาสนิกชนนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น